จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (Publication Ethics)

วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ได้กำหนดแนวปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้


บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
  1. บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร มีอำนาจการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความในการตีพิมพ์เผยแพร่
  2. บรรณาธิการ ต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาบทความอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก โดยไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์
  3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความและการตีพิมพ์วารสารฉบับนั้น ๆ
  4. บรรณาธิการ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ
  5. บรรณาธิการจะต้องไม่รับบทความที่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการส่งพิจารณาตีพิมพ์อย่างที่อื่น
  6. บรรณาธิการ มีระบบแก้ไขข้อผิดพลาดในบทความและถอดบทความที่พบว่าผิดจริยธรรมการวิจัย และไม่ละเลยเพิกเฉยเมื่อพบข้อผิดพลาดและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
  7. บรรณาธิการจะต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ทุกท่านอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะต้องให้ปฏิบัติเหมือนกัน ตามกฎกติกาที่วารสารกำหนด
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
  1. ผู้ประเมินบทความจะต้องมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในสาขาที่ต้องประเมิน เพื่อให้บทความได้รับการประเมินอย่างถูกหลักเนื้อหาวิชาการที่สุด
  2. ในกรณีที่ผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) กับผู้นิพนธ์ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
  3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ รวมถึงข้อมูลของผู้นิพนธ์ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมิน
  4. ผู้ประเมินบทความควรพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ อิงเหตุผลทางวิชาการ ความใหม่ ความชัดเจน คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
  5. ผู้ประเมินจะต้องมีความรับผิดชอบ และไม่ทิ้งงาน ต้องประเมินและส่งกลับตามเวลาที่กำหนด และไม่ควรส่งล่าช้าแบบไม่มีเหตุอันควร
  6. หากผู้ประเมินบทความพบว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยผ่านการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น ๆ
  2. ผู้นิพนธ์จะต้องเตรียมบทความตามคำแนะนำที่ทางวารสารกำหนดให้ถูกต้องและครบถ้วน
  3. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ หรือหลักการใหม่ที่เป็นไปได้และมีทฤษฎีสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีประโยชน์ต่อการศึกษาและการวิจัย
  4. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  5. ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่ได้คัดลอกผลงานวิชาการ (plagiarism) ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น
  6. ผู้นิพนธ์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ร่วมนิพนธ์ทุกท่านการส่งบทความมาลงตีพิมพ์ในวารสาร และผู้นิพนธ์ร่วมที่มีชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความจริง
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) (ถ้ามี)
  8. ผู้นิพนธ์จะต้องยอมรับการตัดสินใจจากบรรณาธิการในทุกกรณี